วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตับอ่อน

                     
                                                               ตับอ่อน 

http://detoxificationclub.blogspot.com/

ตับอ่อน (pancreas)

- ตับอ่อนตั้งอยู่ที่ด้านบนซ้ายของช่องท้อง โดยวางตัวจากส่วนโค้งของลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม (duodenum ) ถึงม้าม (spleen) และด้านหลังของกระเพาะ (stomach)
- มีลักษณะค่อนข้างแบน มีความยาวประมาณ 12 – 15 เซนติเมตร
- ตับเป็นอวัยวะของสัตว์ที่มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร


หน้าที่ของตับอ่อน

- ตับอ่อนทำหน้าที่ทั้งเป็นต่อมมีท่อคือการสร้างน้ำย่อยแล้วส่งไปที่ลำไส้เล็ก 
- และเป็นต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมนเซลล์ ที่ทำหน้าที่ในการผลิต ฮอร์โมน ซึ่งจะรวมกันเป็นกลุ่ม
มีชื่อเรียกว่าไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ ( Islets of Langerhans ) มีปริมาณ 1 – 3 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อเยื่อตับอ่อนทั้งหมด




ภาพแสดงตำแหน่งของตับอ่อนในร่างกาย





ฮอร์โมนที่สร้างจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์

ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ (Islet of Langerhans) เป็นกลุ่มเซลล์ที่อยู่ในตับอ่อน ค้นพบโดย พอล แลงเกอร์ฮาน (PaulLangerhans) ซึ่งสังเกตเห็นกลุ่มเซลล์กลุ่มหนึ่งกระจายอยู่ในตับอ่อนเป็นหย่อมๆ มีเลือดมาหล่อเลี้ยงมาก ต่อมาจึงเรียกกลุ่มเซลล์เหล่านั้นเพื่อให้เกียรติแก่ผู้ค้นพบว่า ไอเลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ (islet of Langerhans) ต่อมาโยอันน์ วอน เมอริง (Johann von Mering) และออสกา มินคอฟสกิ (Oscar minkovski) แสดงให้เห็นว่าการตัดตับอ่อนออกจากร่างกายของสุนัขมีผลต่อการย่อยอาหารประเภทไขมันและทำให้ปัสสาวะของสุนัขนั้นมีมดขึ้น และต่อมาสุนัขก็ตาย
ในปี พ.ศ. 2455  ได้มีผู้ทดลองให้เห็นว่ากลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอรฮานส์ ผลิตสารบางอย่างผ่านมาทางกระแสเลือดและให้ชื่อว่า อินซูลิน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2463 เอฟ จี แบนติง (F.G. Banting) และซี เอช เบสต์ (C.H. Best)  ทำการทดลองมัดท่อตับอ่อนของสุนัข ผลปรากฏว่าตับอ่อนไม่สามารถสร้างเอนไซม์ได้อีก แต่ระดับน้ำตาลในเลือดยังปกติ และได้สกัดสารจากกลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานออกมา  แล้วนำสารนี้ไปฉีดให้กับสุนัขที่เป็นโรคเบาหวานภายหลังจากตัดตับอ่อนออกแล้วปรากฎว่าสุนัขมีชีวิตอยู่เป็นปกติและสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้  แบนติงและเบสต์จึงประสบความสำเร็จในการสกัดสารอินซูลินออกมาได้ ซึ่งถือเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติ  จากผลการศึกษานี้ทำให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ช่วยชีวิตคนเป็นจำนวนมาก


ฮอร์โมนที่สร้างจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ มี 2 ชนิดคือ อินซูลินและกลูคากอน

ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) สร้างจากกลุ่มเบตาเซลล์ (beta cell / ß - cell) ซึ่งอยู่บริเวณส่วนกลางของไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮาน ทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติเมื่อปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง เร่งการสร้างไกโคเจนเพื่อเก็บสะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ และเร่งการใช้กลูโคสของเซลล์ทั่วไป
คนปกติจะมีระดับน้ำตาลในเลือดประมาณ 90-100 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร เมื่อรับประทานอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตเข้าไปปริมาณน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นถึง 140 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ในเวลาครึ่งชั่วโมงและจะลดลงมาถึงระดับปกติในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งอินซูลินจะหลั่งออกมาเมื่อน้ำตาลในเส้นเลือด ขณะที่มีการออกกำลังกายอย่างหนัก ต้องใช้พลังงานมาก ไกลโคเจนที่เก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อได้ถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคสส่งเข้ามาในกระแสเลือดทำให้น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเล็กน้อย แต่ระดับน้ำตาลยังไม่ต่างจากระดับปกติมากนัก
ความผิดปกติเนื่องจากอินซูลิน
- โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) --> มีปริมาณฮอร์โมนอินซูลินน้อย ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนปกติ ซึ่งสามารถทำลายเบต้าเซลล์ได้ ทำให้ขาดอินซูลิน ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดมาใช้ได้ แล้วจะสลายไกลโคเจนที่สะสมไว้ออกมาใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจึงเกิดโรคเบาหวาน โรคนี้พบทุกเพศทุกวัย อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม อายุ ความเครียด ความอ้วน การอักเสบที่ตับอ่อนจากเชื้อไวรัสหรือยาบางชนิด เป็นต้น
อาการ
-  ปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากท่อหน่วยไตไม่สามารถดูดน้ำตาลกลับได้หมด  จึงถูกขับออกมาพร้อมปัสสาวะ (โมเลกุลของน้ำตาลจะดึงโมเลกุลของน้ำมาด้วย) บางครั้งปัสสาวะอาจมีมดขึ้น มีผลให้กระหายน้ำมากและบ่อยผิดปกติ 
- แผลจะหายอยาก  มีอาการคันบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และผิวหนัง  เพราะน้ำตาลเป็นอาหารของแบคทีเรียอย่างดี
- น้ำหนักตัวลด   อ่อนเพลีย  เซื่องซึม   เมื่อยล่า   เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้พลังงานจากกลูโคสได้ จึงใช้ไขมันและโปรตีนแทน
-  เลือดและปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นกรดมากกว่าปกติ เนื่องจากมีสารคีโตน (ketone body) จากการสลายไขมันและถ้าเป็นโรคเบาหวานนาน ๆ   อาจจะทำให้ตาบอดและไตจะค่อย ๆ หมดสภาพในการทำงาน
** โรคเบาหวานมี 2 แบบ คือ โรคเบาหวานที่เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เลย และโรคเบาหวานที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายไม่สังเคราะห์ตัวรับอินซูลิน (หน่วยรับเฉพาะ) **
การรักษาโรคเบาหวาน --> การฉีดอินซูลินและการระมัดระวังในการรับประทานอาหารการฉีดฮอร์โมนเข้าไปจะทำให้ร่างกายสามารถดำรงสภาพปกติอยู่ได้ หรืออาการผิดปกติทุเลาลงได้   แต่มักไม่หายขาด


ฮอร์โมนกลูคากอน (glucagon) สร้างจากแอลฟาเซลล์ (alpha cell / a-cell) ขนาดใหญ่และมีจำนวนน้อยกว่าเบตาเซล์ มีหน้าที่ตรงข้ามกับอินซูลิน การขาดกลูคากอนมักจะไม่มีผลต่อร่างกายมากนัก เนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมนอีกหลายตัวที่ทำหน้าที่แทนอยู่แล้ว
** การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดจะเป็นสัญญาณยับยั้งและกระตุ้นการหลั่งอินซูลินและกลูคากอนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ **



คอร์สล้างพิษ
Conquer the disease detoxification Club

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น